Welcome to
the animal world.
โลกของสัตว์
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ โลกของสัตว์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ในแต่ละพื้นที่ ที่มาอยู่ในเพจของเรา มีประวัติเกี่ยวกับน้องๆทุกตัว อาหาร การเป็นอยู่ ความเป็นมา และต่างๆ อีกมากมาย คลิปน้องๆที่น่ารักมากๆๆ
ประวัติแต่ละพื้นที่
ขั้วโลกเหนือ (อังกฤษ: North Pole) หรือ ขั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: Geographical North Pole) เป็นจุดบนผิวโลกในซีกโลกเหนือที่ตั้งฉากกับแกนหมุดของโลก บางครั้งเรียกว่าขั้วโลกเหนือจริง (True North) เพื่อแยกกับขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก
ขั้วโลกเหนือเป็นจุดเหนือสุดของโลกและอยู่ตรงข้ามกับขั้วโลกใต้ตามแนวทะแยง มีการกำหนดให้ขั้วโลกเหนืออยู่ตรงกับละติจูด 90 องศาเหนือ ที่ขั้วโลกเหนือทุกทิศทางจะเป็นทิศใต้ การที่เส้นลองจิจูดทุกเส้นต้องผ่านขั้วโลกเหนือเราจึงสามารถกำหนดให้เป็นค่าลองจิจูดองศาใดก็ได้ ภายในวงกลมละติจูด 90° แคบ ๆ นั้นทวนเข็มนาฬิกาคือทิศตะวันออกส่วนตามเข็มนาฬิกาคือทิศตะวันตก ขั้วโลกเหนือเป็นจุดศูนย์กลางของซีกโลกเหนือ แผ่นดินที่ใกล้กับขั้วโลกเหนือที่สุดคือเกาะคาเฟอคลูเปิน อันเป็นเกาะที่อยู่นอกชายฝั่งทางเหนือของเกาะกรีนแลนด์ เกาะครัฟเฟเคเบนนั้นห่างจากขั้วโลกเหนือราว 700 กม. ที่อยู่อาศัยถาวรที่อยู่ใกล้ที่สุดคืออะเลิร์ท นูนาวุต ประเทศแคนาดาซึ่งห่างจากขั้วโลกเหนือราว 817 กม.
ขั้วโลกใต้นั้นอยู่ในแผ่นดิน แต่ว่าขั้วโลกเหนือนั้นอยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติกที่เป็นน่านน้ำปกคลุมด้วยน้ำแข็งทะเลเกือบถาวร ใน ค.ศ. 2007 มีร์เรือดำน้ำสัญชาติรัสเซียวัดความลึกของทะเลที่ขั้วโลกเหนือได้ที่ 4,261 ม. และวัดได้ 4,087 ม. จากเรือยูเอสเอส นอติลุสใน ค.ศ. 1958 การที่มีลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ไม่สามารถสร้างสถานีถาวรที่ขั้วโลกเหนือได้ อย่างไร้ก็ตามสหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในเวลาต่อมา ได้สร้างสถานีลอยน้ำแข็งเป็นประจำเกือบทุกปีตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ซึ่งบางแห่งได้ลอยผ่านและใกล้กับขั้วโลกมาก ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 เป็นต้นมารัสเซียได้สร้างแคมป์บาเนียวใกล้กับขั้วโลกเป็นประจำทุกปี
ป่าชายเลน เป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณตีนเขา อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง
คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"
บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลน เช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ไทย เป็นต้น
สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในบริเวณนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ สุนทรวัน ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก
ประเภทของป่าชายเลน
ป่าชายเลนสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด
1. Basin forest เป็นป่าชายเลนที่ พบติดกับแผ่นดินใหญ่ตามลำน้ำและได้อิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมาก น้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด
2. Riren forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่ติดกับทะเล ทะเลสาบ มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวัน
3. Fringe forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับแผ่นดินหรือรอบเกาะที่เป็นเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเสมอเป็นประจำทุกวัน ยกเว้น ชายฝั่งทะเลของเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด
4. Overwash forest เป็นป่าชายเลนที่พบตามเกาะเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะท่วมต้นไม้หมด พรรณไม้ที่จะเตี้ยกว่าปกติ มีอัตราการเติบโตต่ำ
ทะเลเกิดขึ้นจากการระเหยของน้ำจากพื้นดินและมหาสมุทร น้ำที่ระเหยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศจะรวมตัวกันเป็นเมฆ เมื่อเมฆมีมวลมากพอก็จะเกิดการตกสะสมเป็นฝนหรือหิมะ เมื่อน้ำฝนตกลงสู่พื้นดินหรือมหาสมุทร น้ำบางส่วนจะซึมลงสู่ใต้ดิน แต่น้ำส่วนใหญ่จะไหลลงสู่ทะเล ทำให้เกิดการสะสมของน้ำในทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ ทะเลเป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อพูดถึงกว้างๆ ทะเลคือระบบที่เชื่อมกันระหว่างผืนน้ำมหาสมุทรน้ำเค็มบนโลก หรือแยกเป็นมหาสมุทรหลายๆ แห่ง ทะเล บรรเทาภูมิอากาศของโลก และบทบาทสำคัญในวัฏจักรน้ำ และวัฏจักรคาร์บอนแม้ว่าจะมีการเดินทางและได้สำรวจทะเลตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เกี่ยวกับทะเล
ทะเลและชายฝั่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคํญต่อประเทศ เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ เป็นที่อยู่อาศัญของสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็น ปลาหมึก กุ้งหอยหรืออื่นๆจน ปัจจุบันได้พัฒนาได้ขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ตลอดจนโยบายกระตุ้ยเศรษฐกิจ ของรัฐบาล อีกทั้งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
ทะเลเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและองค์ประกอบมากมาย เช่นพื้นที่น้ำ ปลา สัตว์น้ำ และประชากรที่อยู่อาศัยในน้ำและบนบก ซึ่งทำให้ทะเลมีความหลากหลายและน่าสนใจสำรวจอยู่ตลอด เพื่อพบความหลากหลายของธรรมชาติที่มีในทะเล ทำให้ทะเลเป็นสิ่งน่าสนใจและเสริมสร้างความมหัศจรรย์ของโลกอย่างไม่น่าเชื่อ สำหรับใครที่หลงไหลในความสวยงามและเสน่ห์ของธรรมที่มาจากทะเล การไปเที่ยวทะเลจึงเป็นที่ทุกคนอยากไป ไม่ว่าจะไปพักผ่อน หรือเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทะเลทราย เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร์
ลกของเรามีพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายมากกว่า 1 ใน 5 ของพื้นโลก ทะเลทราย คือ พื้นที่ที่เป็นทรายกว้างใหญ่ มีอากาศร้อน แห้งแล้ง และมีฝนตกน้อยมาก โดยมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเลทราย คือ สายพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งเท่านั้น
สิ่งมีชีวิตในทะเลทรายมีการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศเพื่อความอยู่รอด สัตว์ในทะเลทรายส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืนและปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น เต่าทะเลทรายจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน หรือ อูฐ ที่อยู่ในทะเลทรายได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำนานถึง 2 สัปดาห์ เพราะสะสมไขมันไว้ในหนอก และร่างกายเก็บน้ำได้เป็นอย่างดี หรือ หมาจิ้งจอกทะเลทราย ที่มีขนอุ้งเท้าหนาสำหรับใช้เดินบนพื้นทรายที่ร้อนระอุ ขนสีน้ำตาลของมันเหมือนสีของทรายช่วยพรางตัวจากศัตรู และยังทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงแดด
ไม่มีพืชชนิดใดอยู่รอดได้ถ้าขาดน้ำ พืชจึงต้องดิ้นรนเพื่อให้มีน้ำเก็บสะสมอยู่มากพอกับความต้องการ พืชทะเลทรายเกือบทุกชนิดเก็บสะสมน้ำไว้ในลำต้นและใบ พวกมันจึงมีรูปร่างพิเศษกว่าต้นไม้ทั่วไป เช่น กระบองเพชร มีลำต้นอวบใหญ่เพื่อเก็บน้ำไว้ในลำต้น มันปรับเปลี่ยนใบให้เป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และมีรากยาวชอนไชลงสู่ชั้นใต้ดินเพื่อหาแหล่งน้ำ หรือ ต้นครีโอโสต (creosote) ที่ใบของมันจะเหี่ยวแห้งคาต้นในฤดูแล้ง ทำให้ดูเหมือนต้นไม้ที่ตายแล้ว แต่ในหน้าฝนมันจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาสดชื่นใหม่อีกครั้ง
แม้ทะเลทรายจะมีสภาพโหดร้ายสักเพียงใด ธรรมชาติก็ยังสร้างสิ่งมีชีวิตสุดพิเศษที่มีความสามารถในการปรับตัวด้านรูปร่างลักษณะ การปรับตัวด้านสรีระ และการปรับตัวด้านพฤติกรรม เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่รอดได้ท่ามกลางความร้อนจัดและแห้งแล้งนั้น
ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ
ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
ลักษณะทั่วไปเป็นป่ารกทึบ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ชั้นบนส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ยางนา (En:Dipterocarpaceae) ซึ่งมีลำต้นสูงใหญ่ตั้งตรง ตั้งแต่ 30-50 เมตร พืชสำคัญที่พบเห็นได้ตามป่าดิบชิ้นทั่วไป
ทรัพยากรสัตว์ป่า
สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในป่าดงดิบชื้น ได้แก่