นกเงือกแรด
ประวัติ
นกเงือกหัวแรด ตัวเต็มวัยทั้งสองเพศจะมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ลักษณะทั่วไปคล้ายนกกก ขนตามตัวสีดำ ไม่มีแถบขาวที่ปลายปีก ท้องสีขาว หางสีขาวมีแถบดำพาด
สิ่งที่น่าสนใจ
สีสันของร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีดำ ไม่มีสีขาวที่ปีก แต่บริเวณท้องหางเป็นสีขาว หางสีขาว โดยมีสีดำพพาด ปากสีเหลืองจนถึงสีงาช้าง โหนกแข็งขนาดใหญ่ ทางด้านท้ายออกสีแดง ส่วนทางด้านกน้าออกสีเหลือง ทางด้านหน้าของโหนกแข็งจะงอนโค้งขึ้นลักษณะคล้ายนอแรดหรือเขาสัตว์สวยงามมาก ตัวเมียนอกจากจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้แล้ว บริเวณขอบตาและตาก็ยังมีสีจางกว่าอีกด้วย เพศผู้ตาสีแดง ส่วนเพศเมียตาสีขาว
ถิ่นอาศัย
มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดาใหญ่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ที่ราบ จนกระทั่งความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
อาหาร
อาหารได้แก่ ผลไม้ ลูกไม้ งู จิ้งเหลน กิ้งก่า สัตว์เล็กๆ
พฤติกรรม
พบโดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ มักเกาะตามยอดไม้สูง แต่บางครั้งก็เกาะตามกิ่งก้านใต้เรือนยอด
สถานภาพปัจจุบัน
ปัจจุบันมีแนวโน้มใกล้สูญพันธ์ุ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
วัยเจริญพันธ์
การผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวแรดเหมือนกับนกเงือกอื่น ๆ โดยทำรังไข่อยู่ตามโพรงไม้ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายหาอาหารมาเลี้ยงแม่นกและลูกนก ผสมพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาว จนถึงฤดูร้อนต่อฤดูฝน หรือระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม
ขนาดและน้ำหนัก
เป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่มาก ตัวผู้มีขนาดใหญ่ (120-122 เซนติเมตร) ตัวเมียขนาด 90-100 เซนติเมตร