top of page

ปูแสม หรือปูเค็ม

ปูแสม หรือปูเค็ม03.jpg
ปูแสม หรือปูเค็ม02.jpg
ปูแสม หรือปูเค็ม.jpg

ที่มา :

ปูแสม หรือปูเค็ม01_edited.png
ปูแสม หรือปูเค็ม01.jpg

ปูแสม หรือปูเค็ม

ประวัติ

     กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปกคลุมด้วยขนสั้นก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงสีบานเย็นอมม่วง ขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนที่เป็นดินโคลนกินเศษอินทรีย์และใบไม้ที่เน่า เปื่อยเป็นอาหาร ปูชนิดนี้เองที่ถูกจับนำมาดองเป็นปูเค็ม

ปูแสม หรือปูเค็ม03.jpg

ปูแสม หรือปูเค็ม

     ปูแสม หรือปูเค็มที่แม่ค้าร้านส้มตำเรียก มีชื่อทางการในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า Sesarma Mederi  เป็นปูที่มีกระดองทรงสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลดำ ก้ามขาด้านหน้าทั้งสองสีบานเย็นอมม่วง แข็งแรงพร้อมหนีบผู้ต่อสู้ อุปนิสัยคือชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นโคลน โพรงหิน หรือตามซอกรากโกงกาง ที่สำคัญคือเจ้าปูตัวเล็กนี่มีพี่น้องร่วมสายพันธุ์มากถึง 29 สกุล 71 ชนิดเลยทีเดียว

     วิธีการเมกเลิฟของเจ้าปูแสมนั้นแตกต่างจากสัตว์ทะเลชนิดอื่นๆ โดยมันจะใช้การผสมพันธุ์แบบภายใน (Internal Fertilization) แม่ปูที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะเก็บไข่ไว้ด้านในตัว  ตลอดเวลาที่เก็บไข่ แม่ปูจะคอยฟูมฟักทำความสะอาดไข่ให้สะอาดอยู่เสมอ รังหนึ่งรังจะมีไข่ประมาณ 12,000 – 82,000 ฟอง

     เมื่อผ่านไป 14-15 วัน ก็จะถึงเวลาที่ไข่พร้อมจะฟักเป็นตัว แม่ปูจึงปล่อยไข่ออกมา ซึ่งกำหนดการปล่อยลูกๆ ในลืมตาดูโลก หรือช่วง “ปูชะไข่” นั้นมีอยู่ 2 ช่วงคือ เดือนเมษายน – กรกฎาคม และกันยายน – พฤศจิกายน โดยบรรดาแม่ๆ จะเคลื่อนทัพลงสู่ทะเลแล้วปล่อยไข่ในน้ำ ให้ไข่ลอยออกไปสู่ทะเล เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกใบใหม่ต่อไป

ช่วงเวลา Productive ของเจ้าปูแสมนั้นจะอยู่หลังจากพระอาทิตย์พ้นขอบฟ้าไปแล้ว โดยพวกมันจะออกจากรูที่นอนอุดอู้อยู่ตลอดกลางวัน เพื่อเตรียมพร้อมในการออกหากินตอนกลางคืน อาหารจานโปรดของปูแสมนั้น ง่ายกว่าที่หลายคนคิด พวกมันชอบกินซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้ว รวมถึงใบไม้สด และดินทรายตามพื้น เพราะนิสัยชอบเก็บของเหลือทิ้งกินนี่เองที่ทำให้มันสร้างประโยชน์ให้แก่ป่าชายเลนได้อย่างไม่น่าเชื่อ!

YouTube : 

bottom of page